ประวัติและความเป็นมา "พระรอด กรุวัดมหาวันพิมพ์ใหญ่(นิยม) เนื้อเขียวคราบเหลือง"
"พระรอด กรุวัดมหาวันพิมพ์ใหญ่(นิยม) เนื้อเขียวคราบเหลือง" พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน ถือว่าเป็น ๑ ในพระชุด “เบญจภาคี” หมายถึง พระเครื่องชุดหนึ่งประกอบด้วยพระจำนวน ๕ องค์ โดยมีพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นองค์ประธาน พระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก, พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี, พระลีลา จ.กำแพงเพชร และพระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน แต่เนื่องจากพระกำแพงลีลาหาได้ยากมากขึ้น จึงได้พระกำแพงซุ้มกอ จ.กำแพงเพชร มาแทน ผู้ที่จัดพระชุดเบญจภาคีคือ “ตรียัมปวาย” นี้เองที่ได้จัดทำทำเนียบชุดพระเครื่อง “เบญจภาคี” ขึ้นเมื่อปี ๒๔๙๕ อย่างไรก็ตาม เมื่อแรกเริ่มยังคงเป็นเพียง “ไตรภาคี” คือมีเพียง ๓ องค์เท่านั้น อันประกอบด้วย พระสมเด็จวัดระฆัง เป็นองค์ประธาน ซ้าย-ขวา เป็นพระนางพญา (พิษณุโลก) และพระรอด (ลำพูน) หลังจากนั้นไม่นานจึงได้ผนวก “พระซุ้มกอ” (กำแพงเพชร) และ “พระผงสุพรรณ” (สุพรรณบุรี) พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน มีการแบ่งแยกเป็นพิมพ์ต่างๆ ซึ่งมีทั้ง พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้น ซึ่งในแต่ละพิมพ์นั้น ก็ยังอาจจะมีแม่พิมพ์หลายอัน โดยอาจจะมีส่วนผสมของเนื้อที่แตกต่างกันไปบ้าง หรืออาจจะได้รับไฟเผาในจุดอุณหภูมิที่ไม่เท่ากัน ตลอดจนถึงการกดพิมพ์ในแต่ละครั้งด้วย จึงทำให้พระรอดแต่ละองค์จึงมีลักษณะของสี ขนาด หรือรายละเอียดของพิมพ์ทรงในบางจุด ที่ดูต่างกันไป แต่จุดที่สำคัญคือต้องดูศิลป์โดยองค์รวมบวกกับความเก่าของเนื้อพระ ที่ถึงยุคสมัยทวารวดี วัดมหาวันวนาราม ตั้งอยู่ใกล้คูเมือง ด้านทิศตะวันตก ถ.จามเทวี ในเขตเมืองลำพูน สร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวีครองหริภุญไชย พระนางจามเทวีนั้นเดิมอยู่ที่อาณาจักรละโว้ เมื่อฤาษีวาสุเทพสร้างหริภุญไชยขึ้น พระนางจามเทวีได้เสด็จมาปกครองเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญไชย เมื่อพระนางจามเทวีเสด็จมาหริภุญไชยนั้นได้พาไพร่พลที่มีความรู้สาขาต่างๆ พร้อมพระสงฆ์ ประมาณ ๕๐๐ รูปมาด้วย รวมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญอีก ๒ องค์ คือ พระแก้วขาว (พระเสตังคมณี) และพระศิลาดำ (พระพุทธสิกขิ) มาด้วย เมื่อถึงหริภุญไชย พระนางจามเทวีโปรดให้สร้างวัดมหาวัน เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์และนำพระศิลามาประดิษฐานไว้ด้วย (ส่วนพระแก้วขาวนั้นพระเจ้าเม็งรายแห่งล้านนาได้อัญเชิญไปเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ และประดิษฐานไว้ที่วัดเชียงมั่น ใน จ.เชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน) ต่อมาหริภุญไชยเกิดสงครามกับขุนลัวะวิลังขะ พระฤาษีจึงใช้พระศิลาดำเป็นต้นแบบสร้าง พระเครื่องแจกจ่ายชาวเมืองเพื่อใช้ออกศึก พระเครื่องส่วนที่เหลือบรรจุไว้ในเจดีย์ที่วัดมหาวัน ต่อมาในยุคหลัง เมื่อเจดีย์บรรจุพระปรักหักพังลง ชาวบ้านจึงพบพระเครื่องที่เก็บไว้ต่างนำกันไปบูชาและ พบกับอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ พระเครื่องเหล่านี้คือ พระรอดมหาวันที่โด่งดังนั่นเอง สุดท้ายนี้ผมขอให้ท่านและครอบครัวมีแต่ความสุขสมหวังและรอดปลอดภัยจากอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวงเลยนะครับผม #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ชั้น 1 (เปิดบริการทุกวัน)<br /> เวลา 11.00 น. - 20.00 น. ติดต่อ 02-1938223-4 / 065-5824972 #ป๋องสุพรรณการันตี <br /> #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย<br /> #ใบรับรองพระแท้ <br /> #ออกใบรับรองพระแท้ <br /> #ใบรับรองพระ<br /> #ตรวจสอบพระ <br /> #ตรวจสอบวัตถุมงคล
อัพเดต: 19/07/2020
| อ่าน: 8,849 คน
ประวัติและความเป็นมา "พระสมเด็จวัดไชโย พิมพ์ 7 ชั้น หูประบ่า"
13/10/2020
10,427
ประวัติและความเป็นมา "พระปิดตาพิชัย พิมพ์บายศรี4หน้า เนื้อสีแดง(เผือก)"
10/02/2020
4,074
ประวัติและความเป็นมา "เหรียญรูปไข่หลวงพ่อทวดวัดช้างให้ รุ่น ๔ ‘บล็อก๑๐ขีด’ "
06/05/2021
4,665
พระสมเด็จบางขุนหรหม พิมพ์ปางยืนประธานพร กรุเจดีย์เล็ก
28/06/2024
223