ปลัดขิกหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
ปลัดขิกหลวงพ่อเหลือ บูชาปลัดขิกหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก พุทธคุณปลัดขิกหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก<br /> ปลัดขิกหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ปลัดขิกเป็นเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง เป็นสัญลักษณ์ของศิวลึงค์ คนโบราณเรียกปลัดขิกว่าตะกรุดไม้ เพราะไม้เป็นวัสดุที่หาได้ง่ายกว่าวัสดุอื่น เหมือนดั่งเช่นเครื่องรางของขลังเก่าๆทั่วไป เสน่ห์ของปลัดขิกคือการสร้างชิ้นต่อชิ้น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พุทธคุณของปลัดขิกไม่แพ้เครื่องรางของขลังชนิดอื่นๆโดยเฉพาะทางด้านเมตตาค้าขาย และโชคลาภ อีกทั้งยังป้องกันเหล่าสิ่งอัปมงคลเหล่าคุณไสยได้อีกด้วย สามารถพกพาไปได้ทุกที่ (ปรกติคนโบราณจะไม่พกพาพระเครื่องซึ่งเป็นของสูงไปยังที่อโคจร) ปลัดขิก..ของดีแต่โบราณ เมตตาค้าขายมนตรามหาเสน่ห์ “ปลัดขิก”...นับเป็นหนึ่งในเครื่องรางของขลังที่มีความเชื่อศรัทธากันมากว่าเป็นของดีที่มีมาแต่โบราณนานมาแล้ว หากจะนับสุดยอด “เครื่องรางของขลัง” ที่เป็นที่สุด...ความนิยมประดุจดั่งพระเครื่องเบญจภาคี...ใครมีไว้ครอบครอง นั่นหมายถึงสุดยอดแห่งความเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร ไล่เรียงกันไปก็มี “ปลัดขิกหลวงพ่อเหลือ”...วัดสาวชะโงก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งอาจจะแทนได้ด้วย “ปลัดขิกหลวงพ่ออี๋” วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี<br /> ใครมีไว้ครอบครองนั้นขึ้นชื่อลือชาเรื่อง คงกระพัน เมตตา โชคลาภ...ทำมาค้าขายดีเยี่ยม ใส่แล้วเหลือกินเหลือใช้แบบไม่ต้องร้องขอแต่ประการใด การจัดสร้าง ปลัดขิกหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงกพื่อให้ลูกศิษย์พกติดตัว ป้องกันภัยที่ไม่พึงปรารถนา และ...เป็นเสน่ห์ เมตตาแก่ผู้คน ค้าขายเงินทองคล่องดี... กล่าวกันว่า ยัง...เป็นเครื่องรางของขลังดีทางสร้างเสน่ห์นิยมต่อเพศตรงข้าม เล่นตลกโปกฮา กันเขี้ยวงา และใช้ทางอยู่ยงคงกระพันมหาอุด เหตุที่สร้างอย่างเครื่องเพศชาย สืบเนื่องมาจากลัทธิบูชาศิวลึงค์ในศาสนาพราหมณ์และท่านโบราณาจารย์นำเอา “หัวใจโจร” และ “หัวใจ พุทธมนต์” บางอย่างลงไป ปลัดขิก หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา รอบลำตัว นอกจากจะลงด้วย “กันหะเนนะ” ตัวกันหะใช้ “น” สะกด รอบลำตัวยังลงเพิ่ม “อุมะอุมิ” หรือ “อิติกะริ อิติกะตา” เฉพาะรอบๆ หน้าประธานลงด้วย “อุ” ถ้าเขียนหวัดๆดูคล้ายเลขสามไทย ส่วนมากลง 3-5 ตัว ด้วยความเชื่อที่มีต่อ “ปลัดขิก” ว่ามีพุทธคุณด้านใดนั้นอาจจะกล่าวได้ขึ้นอยู่กับคาถาที่ลงไว้ อาจจะเป็นด้านเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ ก็ไปในทางค้าๆขายๆ ร่ำรวย เฮงๆ ดึงดูดเพศตรงข้าม...หรืออาจจะเป็นเรื่องคงกระพัน แคล้วคลาด...กันสัตว์ร้ายทำร้ายก็ว่ากันไป <br /> ประวัติหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก พระครูนันทธีราจารย์ หรือ หลวงพ่อเหลือ นันทสาโร มีนามเดิม เหลือ รุ่งสะอาด เป็นชาวฉะเชิงเทราโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 9 ก.ค.2405 ที่ ต.บางเล่า อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา บิดา-มารดา ชื่อ นายรุ่ง-นางเพชร รุ่งสะอาด ในช่วงวัยเยาว์เป็นคนขยันขันแข็ง ช่วยงานบิดามารดาและญาติพี่น้องจนเป็นที่รักใคร่ของทุกคน เมื่อถึงวัยอันควรในปีพ.ศ.2428 เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดสาวชะโงก อ.บางคล้า โดยมี พระอาจารย์คง วัดใหม่บางคล้า เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการขิก วัดสาวชะโงก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์โต วัดสาวชะโงก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา นันทสาโร พระภิกษุเหลือได้ศึกษาอักษรขอม-บาลี และวิปัสสนากัมมัฏฐาน จากพระอธิการขิก พระกรรมวาจาจารย์ ผู้มีวิทยาคมเข้มขลังจนแตกฉาน จากนั้นเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์กับพระเกจิผู้ทรงคุณอีกหลายสำนัก อาทิ หลวงพ่อดำ วัดกุฎี จ.ปราจีนบุรี และหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นสหธรรมิกกับพระเกจิชื่อดังอีกหลายรูป อาทิ หลวงพ่อเสือ วัดไผ่สามกอ ผู้เชี่ยวชาญด้านทำน้ำมนต์, หลวงพ่อนก วัดสังกะสี ศิษย์หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน, หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม, หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ฯลฯ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย รักสมถะ มีเมตตาธรรมสูงส่ง มุ่งทำนุบำรุงบวรพุทธศาสนา สร้างศาสนสถานและศาสนวัตถุต่างๆ ภายในวัดสาวชะโงก และวัดวาอารามอื่นๆ ใน จ.ฉะเชิงเทรา และใกล้เคียง ตั้งแต่ยังเป็นพระลูกวัด จนปีพ.ศ.2461 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดสาวชะโงก และในปีพ.ศ.2474 ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดสาวชะโงก ปกครองและพัฒนาวัดอย่างต่อเนื่อง จนวัดเจริญรุ่งเรืองเป็นที่เชิดหน้าชูตา ทั้งยังพัฒนาด้านการศึกษาแก่กุลบุตรกุลธิดา ได้สร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้นที่วัดสาวชะโงก ชื่อ โรงเรียนวัดสาวชะโงก (นันทประชาสรรค์) เป็นพระเกจิที่มีคุณวิเศษในหลายด้าน มักได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีปลุกเสกใหญ่เสมอ นอกจากนี้ เมื่อครั้งสงครามอินโดจีน ก็เป็น 1 ในพระเกจิที่สร้างผ้ายันต์แดง แจกทหารในสงคราม แต่ที่โดดเด่นเป็นที่กล่าวถึงคือ ปลัดขิก ด้วยสังขารไม่เที่ยง หลวงพ่อเหลือมรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันศุกร์ที่ 19 ม.ค.2488 เวลา 04.00 น. ด้วยโรคประจำตัวและความชรา
อัพเดต: 09/02/2022
| อ่าน: 10,084 คน
ประวัติและความเป็นมา "เหรียญพระพุทธ 25 ศตวรรษ เนื้อทองคำ สร้างปี พ.ศ. 2500 กรุงเทพมหานคร"
19/09/2021
21,064
ประวัติและความเป็นมา "เหรียญพ่อท่านเขียว วัดหรงบล รุ่นแรก บล็อก 2 บี้ 3 แบน (นิยม) สร้างปี พ.ศ. 2513"
31/07/2020
6,978
ประวัติและความเป็นมา "พระชัยวัฒน์ พิมพ์คอหนอก ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม"
15/11/2021
2,129
ประวัติและความเป็นมา "พระปิดตา เนื้อผงโสฬลมหาพรหม พิมพ์ปิดตาหลวงพ่อแก้ว ปี พ.ศ. 2503 หลังแบบ (รักแดง นิยม) "
25/08/2021
7,423