พระบูชา ปางนาคปรก สมัยลพบุรี หน้าตัก 5 นิ้ว
พระบูชา ปางนาคปรก สมัยลพบุรี หน้าตัก 5 นิ้ว พระพุทธรูปสมัยลพบุรีมีพื้นฐานสืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมเขมร ทั้งเทคนิคการสร้างที่ใช้วัสดุหินทรายและรูปแบบศิลปกรรม สามารถแบ่งกลุ่มรูปแบบไว้ 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 มีการผสมระหว่างทวารวดีกับศิลปะเขมร (ราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 18) กลุ่มที่ 2 รูปแบบที่สืบทอดมาจากศิลปะเขมร (ราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 19) และกลุ่มที่ 3 กลุ่มที่พัฒนามาเป็นลักษณะท้องถิ่นอย่างแท้จริง (ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 19)[4] ลักษณะทีท่าของพระพุทธรูปมีความรู้สึกเสมือนอยู่ในสภาพมีอำนาจแบบเทพเจ้าหรือกษัตริย์ มากกว่าที่จะเป็นสัญลักษณ์ของความหลุดพ้น ตามความเชื่อศรัทธาในคติมหายานแบบศรีวิชัยครั้งราชวงศ์ไศเลนทร์ก็เป็นไปได้ ที่นิยมการสร้างรูปพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ นางปัญญาบารมีและรูปเหวัชระสัตว์ พระพุทธรูปส่วนใหญ่เป็นนาคปรกปางสมาธิ ประทับนั่งเหนือขนดนาคสามชั้น พระชงฆ์มีสันเล็กน้อย พระเศียรยังแสดงเครื่องทรงคือมงกุฎทรงสูงที่ทำเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีประดับลายกลีบบัว พระเนตรปิดและเหลือบลงใต้ พระโอษฐ์แบะกว้าง ขอบพระโอษฐ์หนา ทรงแย้มพระโอษฐ์แบบบายน แต่มีลักษณะแตกต่างจากศิลปะบายน ได้แก่ พระพักตร์ยาวเป็นรูปไข่มากกว่า พระวรกายยืดสูงกว่า[5] พระพุทธรูปสมัยลพบุรียังได้ให้อิทธิพลไปยังกลุ่มพระพุทธรูปในสมัยอยุธยาตอนต้นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มพระพุทธรูปหินทรายที่มีพระพักตร์ค่อนข้างยาว และส่วนหนึ่งน่าจะให้อิทธิพลไปยังกลุ่มพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ 3 ที่เชื่อว่าเป็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยด้วยครับ #ป๋องสุพรรณการันตี
อัพเดต: 31/07/2024
| อ่าน: 159 คน
หลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงไก่ หางพวง วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา
08/11/2024
111
พระหูยาน พิมพ์ใหญ่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี
05/01/2023
1,992
พระผงของขวัญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ รุ่น 3 พิมพ์ ลึก
15/09/2024
183
ประวัติและความเป็นมา "เหรียญเศรษฐี หลวงปู่ดู่"
05/01/2020
35,344