พระสมเด็จวัดไชโย วรวิหาร พิมพ์ 6 ชั้น อกต้น

พระสมเด็จวัดไชโย วรวิหาร พิมพ์ 6 ชั้น อกต้น วัดไชโยวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท มหานิกาย ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง พระสมเด็จวัดไชโย พิมพ์ 6 ชั้น ถือว่าเป็นพิมพ์ต้นๆที่ทรงคุณค่านิยมและหายากอีกพิมพ์หนึ่งเลยครับ ซึ่งเป็นอีกพิมพ์หนึ่งที่หายาก สมเด็จวัดไชโย จังหวัดอ่างทอง สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ในสมัยรัชกาลที่4กรุงรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นประมาณปีพ.ศ.2409 ครับ สมเด็จวัดเกศไชโยที่มีความนิยมกันมากมีด้วยกัน12พิมพ์และนอกพิมพ์อีกครับ พิมพ์ 7 ชั้นนิยม พิมพ์ 7 ชั้นหูประบ่า พิมพ์ 6 ชั้นอกตัน พิมพ์ 6 ชั้นอกตลอด พิมพ์7ชั้นแขนติ่ง(นักเลงโต) พิมพ์ 7 ชั้นแข่งหมอน พิมพ์7กับ6ชั้นไหล่ตรง พิมพ์7กับ6ชั้น อกวี พิมพ์เข่าบ่วง พิมพ์ 5 ชั้น พิมพ์ 3 ชั้น แต่ก็ยังมีพิมพ์อื่นๆอีกหลายพิมพ์ครับ เช่น พิมพ์ทรงเจ็ดชั้นฐาน6ชั้น พิมพ์เจ็ดชั้นต้อ พิมพ์หกชั้นพิมพ์ล้ำ พิมพ์ห้าชั้น พิมพ์สามชั้นฯ แต่พบเจอน้อยครับ จากบันทึกของพระยาทิพโกษา(สอน โลหะนันทน์)และนายกนก สัชฌุกร ซึ่งได้บันทึกจากการบอกเล่าของพระธรรมถาวร จันทโชติ สามเณรที่ช่วยสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) ตำผงเพื่อสร้างสมเด็จประมาณปีพ.ศ.2409ที่วัดระฆังโฆสิตาราม. พระที่สร้างขึ้นสมัยนั้นมีทั้งพิมพ์สามชั้นและเจ็ดชั้น ส่วนพิมพ์เจ็ดชั้นทำไปบรรจุไว้ที่วัดเกศไชโย จังหวัดอ่างทองครับ นอกจากนี้ พระยาทิพโกษา ได้บันทึกไว้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)สร้างพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับโยมมารดาที่มีชื่อว่า เกศ และตามีชื่อว่า ไช พระสมเด็จจึงถูกขนานนามตามชื่อวัดว่า สมเด็จวัดเกศไชโยครับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ท่านสร้างพระสมเด็จไชโยนี้ที่วัดระฆังโฆสิตารามแล้วนำมาแจกและบรรจุไว้ในกรุวัดไชโยวรวิหารนี้ ในคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่หรือพระมหาพุทธพิมพ์ที่วัดนี้นั้นเองครับ ผมขอให้ท่านและครอบครัว จงมีแต่ความสุขสมหวังทุกสิ่งที่ต้องการเลยนะครับ โดย “ป๋อง สุพรรณ การันตี”

  อัพเดต: 31/07/2024

  อ่าน:  211  คน