ประวัติและความเป็นมา "พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม พิมพ์พนมมือ วัดสะพานสูง"
"พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม พิมพ์พนมมือ วัดสะพานสูง" จ.นนทบุรี พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จัดเป็นหนึ่งในห้าสุดยอดพระปิดตาของเมืองไทย เป็นที่สุดแห่งความนิยมที่นักสะสมพระเครื่องใฝ่หา ชนิดที่เรียกว่า ของแท้ๆ หายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรเช่นกัน ปัจจุบันค่านิยมอยู่ที่เลขเจ็ดหลัก เป็นรองแค่พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ แต่พุทธคุณไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ของปลอมนั้นปัจจุบันมีเยอะมากและฝีมือค่อนข้างดีอีกด้วย ผู้สร้าง<br /> หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม เป็นชาวเมืองนนทบุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2359 ในสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นบุตรของ นายนาค และนางจันทร์ ชาวตำบลบ้านแหลมใหญ่ฝั่งใต้ อายุได้ 22 ปี อุปสมบทที่วัดบ่อ ต.ปากเกร็ด ต่อมาย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี เพื่อศึกษาด้านพระปริยัติธรรมและแปลพระธรรมบท แล้วย้ายไปจำพรรษาวัดประยุรวงศาวาส จนเมื่อญาติโยมมานิมนต์ให้กลับภูมิลำเนา ท่านจึงมาครอง ‘วัดสว่างอารมณ์’ ซึ่งต่อมา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงข้ามคลองหน้าวัด ได้ประทานนามวัดใหม่ว่า “วัดสะพานสูง” หลวงปู่เอี่ยม เป็นพระเกจิร่วมสมัยกับพระเกจิชื่อดังหลายรูป อาทิ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี), หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน , กรมพระยาปวเรศฯ วัดบวรนิเวศวิหาร, หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย, และ หลวงพ่อเอี่ยม วัดหนัง เป็นต้น ท่านเป็นผู้มีวิทยาอาคมเข้มขลังและมีชื่อเสียงโด่งดังด้านวิปัสสนาธุระกัมมัฏฐาน มีวาจาสิทธิ์ มักน้อย สันโดษ ทั้งเป็นต้นแบบในการพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรือง จนถึงปัจจุบัน เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนและเจ้านายผู้ใหญ่ในพระนคร มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย อันเป็นที่มาของการสร้างวัตถุมงคลต่างๆ โดยเฉพาะ ‘พระปิดตา และ ตะกรุดโทนมหาโสฬสมงคล’ ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2439 รวมอายุได้ 80 ปี 59 พรรษา ปัจจุบัน ‘รูปหล่อเท่าองค์จริงของท่าน’ ประดิษฐานหน้าพระอุโบสถ ซึ่งผู้ศรัทธาจากทุกสารทิศยังคงแวะเวียนมากราบสักการะและขอพรอยู่เป็นประจำ เนื้อหามวลสาร<br /> มวลสารที่ใช้เป็นมวลสารที่หลวงปู่เอี่ยมเก็บสะสมไว้เป็นจำนวนมากระหว่างเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นพวกว่านและรากไม้ที่ทรงคุณทางเมตตามหานิยม นำมาบดผสมกับเนื้อผงพุทธคุณที่มาจากการลบพระคาถาพระยันต์อิติปิโส พระยันต์ไตรสรณคมน์ และพระยันต์โสฬสมหามงคล สีสันวรรณะจะออกเป็นสีมะขามเปียก มีความหนึกนุ่ม เมื่อส่องดูเนื้อจะเห็นว่านดอกมะขามซึ่งอาจจะเป็นชาดสีแดงๆ กระจายอยู่ทั่วองค์พระ พบเนื้อสีขาวบ้างแต่มีน้อย ลักษณะจะขาวนวลเหมือนผงน้ำมันแต่ไม่เยิ้ม มีคราบขาวกระจายอยู่ทั่วไป เมื่อทำเป็นองค์พระแล้วมักจะทาหรือชุบน้ำรักอีกชั้นหนึ่ง ด้วยสูตรรักของท่านเอง พุทธลักษณะและเอกลักษณ์แม่พิมพ์<br /> รูปแบบพิมพ์ทรงนั้นท่านจะสร้างขึ้นเองเช่นกัน ลักษณะเป็นพระปิดตาแบบลอยตัว พระประธานประทับนั่ง ปางสมาธิราบ พระหัตถ์ปิดพระเนตร มีพบเป็นครึ่งซีกบ้างแต่น้อย ส่วนขนาดก็มีเล็กบ้างใหญ่บ้าง โดยส่วนมากจะออกใหญ่และล่ำสัน ซึ่งดูงดงามไปอีกแบบ แบ่งได้เป็น 3พิมพ์ “<br /> 1. พิมพ์ชะลูด<br /> 2. พิมพ์ตะพาบ<br /> 3. พิมพ์พนมมือ<br /> “พิมพ์ชะลูด” เป็นพระปิดตารุ่นแรก มีความงดงามและจัดเป็นพิมพ์นิยม สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อนำปัจจัยมาสร้างพระอุโบสถ ลักษณะสูงเล็กและเพรียวกว่า จุดสำคัญให้สังเกตที่พระหัตถ์ที่ยกปิดพระเนตร ถ้าใช้กล้องส่องดูจะเห็นรอยนิ้วพระหัตถ์ และยกข้อพระกรขึ้นสูงกว่า, พระกัประ (ข้อศอก) จะเป็นลำเว้าเข้าหาบั้นพระองค์, พระอุทร (ท้อง) พลุ้ย, ปรากฏพระนาภี (สะดือ), พระบาทขวาทับพระบาทซ้ายในลักษณะเฉียงขึ้นด้านบนเล็กน้อย ด้านหลังจะเป็นหลังเรียบและโค้งมน ดูเผินๆ เหมือนตุ๊กตา ส่วน “พิมพ์ตะพาบ” องค์จะล่ำสันเทอะทะดูใหญ่คล้ายตะพาบน้ำ พระกัประ (ข้อศอก) ชิดกับพระเพลา ซึ่งจะกว้างกว่าพิมพ์ ชะลูด<br /> ข้อสำคัญอีกประการ คือ พระปิดตาของหลวงปู่เอี่ยม จะเป็น “พิมพ์ประกบหน้าหลัง” จึงปรากฏตะเข็บด้านข้างให้เห็นเกือบทุกองค์ ซึ่งมักจะปริหรือแตกกะเทาะด้วยกาลเวลา พุทธคุณ<br /> เด่นในด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ และแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี ป้องกันคุณไสยและภูตผีปีศาจ<br /> การพิจารณา<br /> ถ้านำพระปิดตาหลายๆ องค์มาวางเรียงกัน พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมจะแลดูสวยงามได้สัดส่วนกว่า องค์พระมีลักษณะล่ำสัน สมส่วน พระเพลากว้าง พระนลาฏ (หน้าผาก) มีรอยยุบทุกองค์ นอกจากนี้ การดูเนื้อถือเป็น “จุดตาย” ที่สำคัญยิ่ง เนื้อในจะเป็นเนื้อสีน้ำตาลที่มีน้ำตาลอ่อนแก่เท่านั้น ไม่มีเนื้อขาวโดยเด็ดขาด เนื้อองค์พระแลดูหยาบเห็นมวลสารชัดเจน หลวงปู่เอี่ยมท่านขึ้นชื่อทางวิปัสสนาธุระ หรือกัมมัฏฐาน กิตติศัพท์ท่านลือเลื่องไปทั่วทั้งพระปิดตาและตะกรุด ก่อนจะละสังขารในปลายปี พ.ศ.2439 ท่านได้สั่งบรรดาศิษย์ไว้ว่า ถ้าผู้ใดมีเรื่องเดือดร้อนให้นึกถึงนามของท่าน และออกชื่อท่าน ความเดือดร้อนก็จะถูกขจัดปัดเป่าไป ซึ่งสานุศิษย์ทั้งหลายได้อาราธนานามของท่านเป็นเกราะคุ้มภัยรอดพ้นอันตรายต่างๆ จนกล่าวขานกันสืบมาจนถึงปัจจุบันเลยทีเดียวครับ #สถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ชั้น 1 (เปิดบริการทุกวัน)<br /> เวลา 11.00 น. - 20.00 น. ติดต่อ 02-1938223-4 / 065-5824972
อัพเดต: 16/03/2020
| อ่าน: 9,659 คน
แสดงความยินดี อ.อ้า สุพรรณ-ซ้อเป้า และ อ.ป๋อง สุพรรณ เปิดสถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย
26/08/2019
11,431
ประวัติและความเป็นมา "พระพุทธชินราชหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว เนื้อโลหะผสม ปี 2485"
26/01/2021
11,892
วันที่ 11 ธันวาคม 2562 บรรยากาศการออกใบรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลของสถาบันรับรองและตรวจสอบวัตถุมงคลประเทศไทย ได้รับการตอบรับอย่างดีตลอดมา
12/12/2019
324
พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่
22/12/2022
2,949